Society is The Best University.

ตอนเป็นเด็ก​ เราสอบตกก็ต้องสอบใหม่
คือต้องสอบจนผ่าน​ เอาให้เบื่อหน้ากันไปข้าง
ตอนนี้โตกันหมดทุกคน​ แน่นอนว่าไม่ต้อง
มานั่งทำข้อสอบกันอีกแล้ว แต่มันเป็นภาระ
หน้าที่การงานที่ต้องทำให้เสร็จแลกกับค่าตอบแทน

วัยทำงานก็ไม่ต่างอะไรจากวัยเรียนหรอกครับ
เราก็มีผิดพลาดกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดา
หลังจากผิดพลาดแล้วเราก็ต้องปรับปรุงพัฒนา
หาคำตอบที่ดีที่สุดเพื่อทำให้ภารกิจบรรลุให้ได้

หากทำไม่ได้ก็เหมือนเรียนซ้ำชั้น
แต่ในชีวิตการทำงานมันคือการที่ไม่ได้ปรับ
เลื่อนขั้นไม่ได้รับการโปรโมทให้ตำแหน่งหน้าที่การงานสูงขึ้น​ หรือโดนดองนั่นเอง

เมื่ออยู่ในวัยเรียนการติวหรือหมั่นทำแบบฝึกหัด
แบบทดสอบเยอะ​ ๆ​ จะส่งผลให้สอบได้คะแนนดี

หากผมจะกล่าวว่าในชีวิตการทำงานของเรา
ก็ต้องหมั่นวิเคราะห์ความเสี่ยง​ วิเคราะห์​ความเป็นไปได้ของโครงการเพื่อที่จะทำให้ภารกิจลุล่วงโดยประหยัดทรัพยากรมากที่สุด​ ซึ่งก็ทำนองเดียว
กันกับวัยเรียน​

แจ๊ค​ หม่า​เองเคยกล่าวไว้ในงาน​
“Forum for World Education”
จัดโดย OECD ที่กรุงปารีส​ ว่า
Everybody​ should be like a “Child”.
“ทุกคน”ควรเป็นเหมือน “เด็ก” ที่เรียนรู้
อยู่ตลอดเวลา ในยุค​ New​ Normal​ งานเดิม ๆ
ที่เคยทำกันมาจะหายไป 15-20%
และจะเกิดงานใหม่ที่เราเองก็คาดไม่ถึงว่า
มันจะเป็นอาชีพได้

ดังนั้นอย่าหยุดการเรียนรู้ไว้แค่ที่โรงเรียน​
หรือมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่จงเรียนรู้โลก
นี้ไปตลอดเวลา ด้วยแนวคิดที่ว่า
“Society is The Best University.”

สิ่งที่ผมอยากจะสื่อความหมายในบทความนี้
ก็คือเราสามารถผิดพลาดได้และจงเรียนรู้กับมัน
หลังจากนั้นเราจะไม่รู้สึกว่ามันเป็นอุปสรรคอีกต่อไปแต่มันคือกำไรชีวิตที่แฝงมาในเหตุการณ์​
ประจำวันในที่ทำงาน

ไม่มีใครเกิดมาแล้วไม่เคยประสบปัญหา
ดังนั้นการที่เรามองว่ามันคือโจทย์
ที่ต้องแก้ให้ได้​ เราก็จะสนุกกับมัน

เมื่อเราแก้มันได้เราก็ได้เงินหรือผลตอบแทน
จากบริษัทหรือลูกค้าที่มอบให้เรา
และแน่นอนว่ายิ่งโจทก์นั้นยากเท่าไรซับซ้อนมากเท่าไรก็จะทำให้เราได้รับผลตอบแทนที่มากมาย
เช่นกัน

ดังนั้นอย่าหยุดที่ปัญหาจิ๊บจ๊อย​
แต่จงพัฒนาตัวเองให้เตรียมพร้อมแก้ปัญหา
ใหญ่​ ๆ​ กันเถอะครับ… รายได้ก้อนโตรออยู่

ฮึบ​ ๆ

ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ
www.thanaban.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *