แฟรนไชส์ ฉบับ เข้าใจง่าย

ปัญหาของผู้ขายแฟรนไชส์ท่านหนึ่ง
ซึ่งหลาย ๆ ท่านอาจจะกำลังประสบอยู่
คือมองภาพรวมในโครงสร้างระบบแฟรนไชส์
ไม่ค่อยออกว่าต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน
ในตำแหน่งไหนบ้าง และติดต่ออะไรกับใคร
อีกทั้งขบวน

ผมขอเล่าสั้น ๆ แบบมีคำศัพท์ฝรั่งปะปนนิดหน่อย
ให้พอร้องอ๋อ ดังนี้

การทำแฟรนไชส์หนีไม่พ้นระบบ Logistics
และ Supply Chain ที่มีคุณภาพ
มิฉะนั้นแล้ว ปัญหาต่าง ๆ เช่น จัดส่งไม่ทันเวลา
สินค้าต่ำกว่ามาตรฐาน ลูกค้าร้องเรียน ฯ
จะผุดขึ้นให้แก้ไขแทบทุกวัน
.
.
ลองมาศึกษาคร่าว ๆ พอเป็นแนวทางดังนี้
.
.
Logistics คือ กระบวนการจัดการลำเลียง
จัดหา เคลื่อนย้าย สินค้าคงคลัง วัตถุดิบ
เพื่อช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
Supply Chain คือ การทำงานเป็นแผนก หรือ
ระบบหน่วยงานตั้งแต่เริ่มหาวัตถุดิบจนปิดการขายที่ลูกค้า

บางธุรกิจนั้นความซับซ้อนไม่ค่อยเยอะ
คือ Supplier >>> Customer
คือจากซัพพลายเออร์ ตรงไปที่ ลูกค้าเลย
ทุกวันนี้เปลี่ยนไปเยอะ
ยิ่งธุรกิจใหญ่ ๆ อาจมีหลายขั้นตอนมากขึ้น
.
.
ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ขายอาหารเสริมเจ้าหนึ่ง
มีขั้นตอนตั้งแต่เริ่มจนถึงจบต้องผ่านผู้เกี่ยวข้อง
ด้านต่าง ๆดังนี้
1. ผู้จัดหาวัตถุดิบ (Raw material supply)
V
V
v
2. ผู้ผลิต (Manufacturer)
V
V
v
3. ผู้จัดจำหน่าย กระจายสินค้า (Distributors)
V
V
v
4. แฟรนไชส์ซอร์(Franchisor)
V
V
v
5. แฟรนไชส์ซี (Franchisee)
V
V
v
6. ลูกค้า (End user)
______________

เห็นภาพมั้ยครับว่า กว่าที่แฟรนไชส์ซอร์
จะมีสินค้าอาหารเสริมออกมาขาย ตีตลาด
ทำกำไรได้นั้นต้องผ่านด่านผู้เกี่ยวข้อง
ในระบบ Logistics และ Supply Chain
มากขนาดไหน

ไทยเรามักเปรียบเปรยว่า “ถ้าต้นน้ำดี ปลายน้ำก็ดี”
ซึ่งก็หมายความตามนั้นจริง ๆ

ผู้ขายแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์
เป็นแค่โซ่ข้อเดียวในห่วงโซ่ทั้งหมด

ขอบคุณครับ

ธนบรรณ สัมมาชีพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *